6 โรคเด็กทารก 1 ขวบ ต้องระวัง และ 6 สัญญาณอันตรายที่คุณควรรู้

6 โรคเด็กทารก 1 ขวบ ต้องระวัง และ 6 สัญญาณอันตรายที่คุณควรรู้ กว่าจะคลอด คุณแม่ต้องทุ่มเทแรงกาย แรงใจมากมายขนาดไหน คุณแม่ทุกท่านคงรู้กันดีอยู่แล้ว แต่ความเหนื่อยยากนั้นเทียบไม่ได้เลย เมื่อต้องดูแลทารกน้อยที่เพิ่งเกิด ทุกการดูแลมันช่างหนักหนาสาหัส

แต่ถึงจะอย่างนั้นมันเปี่ยมไปด้วยความสุขที่สุดในชีวิต เพื่อให้คุณแม่ทุกท่านสามารถดูแลทารกได้ง่ายขึ้น และช่วยให้เขาปลอดภัยจากสิ่งต่าง เราจึงขอเสนอบทความ โรคเด็กแรกเกิดถึงหนึ่งขวบ 6 โรคต้องระวัง และ 6 สัญญาณอันตราย ปล่อยผ่านไม่ได้

โรคเด็กทารก

1.โรคเด็กทารก ท้องเสีย

โรคเด็กทารก อาการท้องเสียเกิดได้จากหลายสาตุ อาจจะได้รับบางอย่างมาจากอาหาร หรือน้ำดื่ม ทำให้ทารกท้องเสีย เกิดการติดเชื้อทางเดินอาหาร การอักเสบ การแพ้โปรตีนในนมวัว หรืออาจเกิดจาก ไวรัสโรต้า หากลูกของเรามีอาการถ่ายมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน ให้คิดไว้ได้เลยอาจจะท้องเสีย ควรพาพบหมอ และอย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำจนเกินไป เพราะอาจเกิดอาการช็อคได้

โรคของเด็กทารก

2.ท้องอืด

สาเหตุหนึ่งที่ลูกของเรางอแงบ่อย เกิดจากความไม่สบบายตัวเช่น อาการพะอืดพะอม มีลมในท้องมากเกินไป ให้เราอุ้มแนบอก แล้วเอาคางเกยไหล่ ลูบหลังเบาๆ เพื่อไล่ลม กดนวดจุดกึ่งกลางของช่องท้องเบาๆ แล้วหมุนตามเข็มนาฬิกา 2 – 3 ครั้ง เพื่อช่วยให้ระบบไหลเวียนของลำไส้ถูกกระตุ้น

โรคทารก

3. ผดผื่น

เด็กแรกเกิดนั้น ต่อมเหงื่อจะยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์เต็มที่ ทำให้ไม่สามารถขับเหงื่อออกมาได้สมดุล จึงเกิด ผื่น ตุ่มแดง น้ำใส หรือตุ่มหนองได้ง่าย เราควรระวังในเรื่องเครื่องนุ่งห่มไม่อบอ้าวจนเกินไป ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยๆ อาจะใช้แป้ง หรือคาลาไมน์ เพื่อลดอาการคันได้

โรคของเด็ก

4.แหวะนม

อาการนี้เกิดจากการดื่มนมในปริมาณที่มาก และเร็วจนเกินไป ทำให้เกิดการสำลัก น้ำนมก็จะไหลย้อนจากหลอดอาหารกลับออกมา เพราะฉะนั้นหลังจากให้นมแล้วไม่ควรให้นอนในทันที ควรให้ลูกอยู่ในท่าหลังตรง หรืออุ้มนั่งอย่างน้อย 30 นาที

โรคที่เกิดขึ้นในเด็กทารก

5.ฝ้าขาวในช่องปาก

อีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยมากในเด็กแรกเกิด เกิดจากเชื้อราในช่องปาก หรือจุกนมไม่มีความสะอาดมากพอ เราสามารถช่วยทำความสะอาดช่องปากของทารกได้โดยการใช้ผ้าชุบน้ำแล้วเช็ดบริเวณช่องปาก

ปัญหาโรคเด็กทารก

6. โคลิก

อาการนี้พบมากในเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 เดือน คือเด็กจะร้องไม่หยุดบางครั้งร้องนานติดต่อกัน 3 – 4 ชั่วโมง จนทำให้ตัวเกร็ง หน้าแดง เกิดจากลำไส้ถูกกระตุ้น ส่วนมากเด็กเหล่านี้จะทานนมผสม หรือมีอาการแพ้โปรตีนในนม
***แนะนำให้อุ้มแล้วพาเดินวนไปมา พร้อมกับลูบหลังเบาๆ

โรคเด็กทารกทารกหลังคลอด

6 สัญญาณอันตราย โรคเด็กทารกทารกหลังคลอด

1.โรคเด็กทารกทารกหลังคลอด ให้ดูสีผิว

โรคเด็กทารกทารกหลังคลอด โดยทั่วไปผิวของทารกควรเป็นสีชมพูแดง แต่ถ้าเมื่อลองกดดูแล้วเป็นสีเหลืองส้มเหมือนทาขมิ้น ควรรีบพบแพทย์ เพราะว่าอาจมีอาการตัวเหลืองหลังจากคลอดได้ 3 – 5 วัน แต่จะค่อยๆ หายไปใน 7 วัน แต่หากว่าอาการไม่ดีขึ้น และยังเป็นเช่นนี้ยาวนานถึง 14 วัน ควรรีบพบหมอด่วน เพราะอาจเกิดอาการชักเกร็งได้ ส่วนมากพบในเด็กที่ไม่ได้ทานนมแม่

2.การดูดนม

หากลูกดูดนมได้น้อย ซึม งอแง ร้องกวนตลอดเวลา และใช้เวลานานในการกินนม หรือมีอาการเหนื่อยจากการดูดนม ควรรีบพบแพทย์ เพราะว่าโดยปกติ เด็กแรกเกิดจะกินนม 1 – 2 ออนซ์ ต่อครั้ง แต่ละครั้งจะกินไม่เกินชั่วโมง และหลับไปอีกประมาณ 3 ชั่วโมง แล้วกลับมากินนมต่อ หรือจะกินนมแม่บ่อยทุก 1 – 2 ชั่วโมง

3.การขับถ่าย

ไม่ต้องแปลกใจหากทารกถ่ายเป็นสีเท่า เพราะว่าในช่วง 2 – 3 วันแรก จะเป็นเช่นนั้น และจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเอง บางคนจะถ่ายเป็นฟอง โดยทั่วไปเด็กที่กินนมแม่จะถ่ายวันละ 6 – 10 ครั้ง แต่ถ้าเป็นนมผสมจะถ่าย 2 – 3 ครั้ง ต่อวัน

ถ้าหลังจากกินนมเสร็จแล้วถ่ายมากกว่า 1 ครั้งเป็นประจำ และมีอุจจาระเหลวปนน้ำ หรือมีมูกเลือดปน ต้องรีบพบแพทย์ เพราว่าอาจเกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ ซึ่งอาจช็อค และเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

4.สะดือผิดปกติ

โดยปกติแล้ว สะดือของเด็กทารกจะแห้ง และหลุดออกใน 5 – 10 วัน เวลาอาบน้ำ ควรทำความสะอาดสะดือทุกครั้ง แต่หากบริเวณสะดือมีกลิ่นเหม็น มีหนอง หรือมีเลือดออก ต้องรีบพบแพทย์ เพราะว่าอาจเกิดการอักเสบ หรือติดเชื้อได้

5.มีน้ำไหลออกจากรูหู

หูควรปกติ ไม่มีสิ่งใดไหลออกมา หรือมีอาการบวมแดง ทารกเป็นหวัดร่วมด้วย หากมีอาการเช่นนี้ถือว่าอันตรายมาก ควรให้แพทย์วินิจฉัยโดยด่วน

6. อาการชัก

โดยทั่วไปเด็กจะมีอาการสะดุ้ง ผวา หรือสะอึก ซึ่งเป็นเรื่องที่ปกติ แต่หากพบอาการอื่นๆ เช่น ตาลอย กระพริบตาถี่ๆ เกร็ง ปากขมุบขมิบ ควรรีบพบแพทย์ เพราะอาจเกิดความผิดปกติทางสมองได้

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://th.theasianparent.com/สัญญาณอันตรายของทารกหลังคลอด/
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9520000115856
https://th.theasianparent.com/โรคที่ต้องระวัง-ของเด็กขวบปีแรก/