สาเหตุลูกดื้อ 6 สาเหตุ รักลูกให้ทาง รับมือย่างไร

สาเหตุลูกดื้อ 6 สาเหตุ รักลูกให้ทาง รับมือย่างไร ลูกดื้อเรื่องที่น่าเหนื่อยใจมากที่สุด ทำอย่างไรให้เด็กๆ น่ารัก ว่านอนสอนง่าย ทำอย่างไรให้เป็นคนที่ไม่หงุดหงิด ไม่โมโม ขี้วีน วันนี้เรามีคำตอบ เตรียมรับมือกับปัญหาที่คุณพ่อ คุณแม่ต้องพบเจอ ทำอย่างให้ลูกๆ ไม่ดื้อ — สาเหตุลูกดื้อ


สาเหตุที่ลูกดื้อ เกิดจากอะไร 7 สาเหตุ


สาเหตุลูกดื้อเอาแต่ใจ

1.ความสนใจ

อย่างแรกในส่วนมากเด็กๆ ทุกคนต้องการ การดูแลเอาใจใส่ อยากให้พ่อแม่อยู่ใกล้ตลอดเวลา หากว่าไม่ได้ความสนใจเท่าที่ควร เด็กจะร้องงอแง โวยวาย แล้วทีนี้พ่อแม่ก็ต้องรีบเข้ามาโอ๋ จนทำให้เด็กรู้ว่าถ้าร้องโวยวายเมื่อไหร่จะได้รับความสนใจ เด็กจึงเกิดติดเป็นนิสัย ทำให้หงุดหงิดง่าย ชอบงอแง โวยวายบ่อย เวลาไม่ได้อะไรดั่งใจก็จะดื้อ

ยิ่งถ้าปล่อยไว้นานจนมีอายุมาขึ้นเรื่อยๆ จะยิ่งแก้ยาก และกลายเป็นนิสัยมาจนตอนโต ทำให้เด็กเหล่านี้มีอารมณ์ฉุนเฉียว หัวแข็ง และไม่ยอมใคร สำหรับวิธีแก้ก็ง่ายๆ พยายามดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสม แต่ว่าต้องไม่มากจนเกินไป ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาได้ และเราจะอธิบายการเอาใจใส่ที่มากเกินไปในข้อที่ 2 [ ท่าอุ้มทารก ]


วิธีปราบลูกดื้อ

2.โอ๋มากเกินไป

การดูแลลูกพ่อแม่ทุกคนย่อมเอาใจอย่างมาก เพราะว่าเป็นสิ่งที่รักมากกว่าชีวิตของตัวเอง เวลาที่ลูกร้อง ลูกงอแง ลูกอยากได้อะไร พ่อแม่จะพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อให้หาทุกสิ่งมาให้ลูก และนี่แหละคือที่มาของคำว่า “พ่อแม่รังแกฉัน” ยิ่งให้ความสนใจมาเท่าไหร่ลูกก็จะยิ่งดื้อมากเท่านั้น ทุกอย่างต้องอยู่ในความพอดี

โดยเราสามารถฝึกให้เป็นนิสัยได้ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เวลาที่ลูกร้องงอแง โวยวาย หากว่าไม่ได้เกิดจาอุบัติ หรือว่ามีอันตรายอะไร เราอย่าเพิ่งเข้าไปโอ๋ เพราะยิ่งทำบ่อยก็ยิ่งติดเป็นนิสัยของการเอาแต่ใจ ให้เราลูกก่อนสักครู่หนึ่ง ประมาณ 1 – 2 นาที แล้วค่อยเข้าไปอุ้ม เข้าไปปลอบ หรือเข้าไปสนใจ ซึ่งการดูแลแบบนี้เรายังสามารถทำได้เช่นกันเมื่อลูกมีอายุมากขึ้น [ วิธีให้นมลูก ]


ลูกดื้อมาก

3.อย่าใช้อารมณ์

เด็กในช่วง 2 – 3 จะเริ่มพัฒนาการอย่างมาก ยิ่งได้เห็น ได้ยินสิ่งใด สิ่งเหล่าล้วนคือแบบอย่างที่มีผลต่อพฤติกรรมของเด็ก เขาจะเลียนแบบและติดเป็นนิสัย หากว่าพ่อแม่หงุดหงิดง่าย ชอบโมโห พูดจารุนแรง ตะคอกใส่กัน เด็กก็รับรู้ว่าพฤติกรรมนั้นเป็นเรื่องปกติทั่วไป เขาจะทำตามเป็นแบบอย่าง

ในช่วงอายุ 2 – 3 ขวบเด็กจะยังไม่รู้จักเหตุผล ไม่สามารถเข้าใจอะไรได้มากมาย เมื่อเห็นสิ่งใดก็จะทำตามแบบนั้น เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังให้มาก อยากให้ลูกมีนิสัยอย่างไร ควรปฏิบัติเช่นเดียวกัน เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี ให้เด็กเติบโตมาเป็นคนที่มีคุณภาพของสังคม


ลูกดื้อแก้กรรมอย่างไร

4.ไม่ฟัง

สำหรับเด็กๆ ที่เริ่มโตขึ้นมาแล้ว การฟังถือเป็นเรื่องที่เราต้องเอาใจใส่อย่าง ทั้งจากตัวคุณพ่อคุณแม่เองที่ต้องคอยรับฟังเรื่องราวต่างๆ ของลูก ทั้งเรื่องปัญหา หรือแม้แต่เรื่องที่ไร้สาระ เพื่อแสดงถึงความใส่ใจ และให้เขาเปิดใจกับเรามากที่สุด

นอกจากตัวเราแล้วตัวเองก็เช่นกัน เราจะฝึกลูกๆ ให้รู้จักรับฟังได้อย่างไร เวลาที่ลูกงอแง โวยวาย ชักดิ้นชักงอ 555 ให้เราอย่าเพิ่งเข้าไป ให้เขาพยศให้จนเต็มที่ สักพักเขาจะเหนื่อย แล้วค่อยเข้าไปคุยกับเขาดีๆ เพื่อบอกให้เขารู้ว่าการโวยวายไม่ได้ช่วยให้ได้ในที่เขาต้องการ


ลูกดื้อ

5.การลงโทษ

ในต่างประเทศนั้นไม่นิยมการตี หรือการทำโทษอื่นที่เป็นการทำร้ายร่างกาย หรือจิตใจ พ่อแม่จะใช้เหตุผลพูดคุย เพราะเขาเชื่อว่าเด็กสามารถรับรู้ได้ เพื่อเป็นการปลูกฝังนิสัยไม่ให้ใช้อารมณ์ หรือความรุนแรงในการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งในบ้านเรานั้น ยังมีคำโบราณที่กล่าวไว้ว่า “รักวัวให้พูดรักลูกให้ดี”

และมีหลายคนบอกว่า ที่ได้ดีมาทุกวันนี้เพราะไม้เรียว แต่ในความเป็นจริงการตี ก่อให้เกิดเพียงความเจ็บ ความโมโห และความกลัวเท่านั้น หากเราสร้างกลัวเพื่อให้เกิดความเชื่อฟัง เรารัก และความเคารพที่เด็กๆ จะมีให้เราจะเริ่มลดน้อยลงไป [ ลูกดื้อ ]


ลูกดื้อเอาแต่ใจ

6.การให้

การให้เมื่อเกิดการร้องขอ ไม่ว่าเด็กๆ จะอยู่ในช่วงอายุไหน สิ่งที่เรามอบให้จะกำหนดลักษณะนิสัยของพวกเขาในอนาคตทั้งสิ้น เริ่มต้นจากวัยเด็กอ่อน ที่ต้องการการเอาใจใส่ ซึ่งได้แนะนำไว้แล้วว่าควรทำอย่างไร ในส่วนนี้จะพูดถึงการให้เมื่อเริ่มอายุมากพอจะรับฟังสิ่งต่างๆ ได้ เช่นขอของเล่น ขนม หรือการต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามช่วงอายุ

การให้ของพ่อแม่ที่ถูกต้อง ต้องมีการแลกเปลี่ยนเพื่อให้เด็กรับรู้ว่าทุกสิ่งนั้นต้องพยายามเพื่อให้ได้มา อาจจะแค่กำหนดง่ายๆ เช่นรดน้ำต้นไม้ ต้องอ่านหนังสือให้ฟัง ต้องเก็บห้องให้เป็นระเบียบ หรืออาจะไปถึงต้องมีผลการเรียนที่ดีเพื่อจะได้ในสิ่งต้องการ ทั้งนี้อยู่ที่ดุลพินิจของพ่อแม่ ว่าสิ่งที่ลูกต้องการนั้นความแลกอะไรเพื่อให้เกิดความเท่าเทียน และเพื่อสร้างนิสัยในการได้มา


สาเหตุที่ลูกดื้อ

7.สื่อ

ในปัจจุบันสิ่งที่น่ากลัวมากอีกอย่างนอกจากการเลี้ยงดูที่ผิด คือ สื่อต่างๆ เด็กๆ สามารถรับสื่อได้ง่ายกว่าในสมัยก่อน พวกเขาเรียนรู้ได้เร็ว เติบโตเร็ว และมีความคิดที่ทันสมัย หลายคนสามารถนำสื่อที่ได้รับมาเรียนรู้ข้อดี ข้อเสียได้ แต่หลายคนก็ถูกสื่อต่างๆ พาให้หลงทาง ให้เข้าใจผิดว่าการกระทำใดเป็นสิ่งที่ดี พ่อแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิด เปิดใจเรียนรู้ราวกับว่าตัวเองเป็นเด็กอีกครั้งหนึ่ง มองดูลูกๆ ในมุมเดียวกัน

การจะสอน และให้คำแนะนำต่างๆ ในเรื่องของสื่อ ควรให้คำแนะนำแบบเพื่อน ไม่ใช่แบบพ่อแม่ ไม่ใช่แบบคนที่อาบน้ำมาก่อน เพราะว่าลูกต่อต้าน และพยายามลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง ยิ่งในช่วงวัยรุ่น ลูกๆ ทุกคนจะเชื่อเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ เพราะพ่อแม่นั้นเหมือนอยู่คนละโลก คนละมุมมองต่อสิ่งๆ ต่างที่ได้รับ พยายามทำตัวเป็นเพื่อนในการให้คำแนะ เน้นว่าให้คำแนะนำ ไม่ใช่การสั่งสอน เพราะยิ่งใช้การสั่งสอน เด็กจะยิ่งเห็นต่าง

ทั้งหมดที่ได้กล่าวมาคือการเลี้ยงดูลูกอย่างถูกวิธี ในทุกช่วงอายุ โดยรวมแล้ว สิ่งเหล่านี้ดูเหมือนจะง่าย แต่เชื่อเถอะว่ามีพ่อแม่น้อยที่ทำได้ อนาคตของลูกจะเป็นเช่นไร อยู่ที่การสั่งสอนของพ่อแม่เกือบ 100 % ถ้าทำให้ลูกคุณมีความสุขได้ ถ้าคุณสามารถทำให้เขารับรู้ได้ว่าเรารักเขามากแค่ไหน ทุกคำแนะนำของเราลูกๆ จะรับฟัง และเขาจะพยายามทำทุกอย่างให้เรามีความสุขเช่นกัน [ ลูกเข้าเตรียมอนุบาล ]