โรคสะเก็ดเงิน ติดต่อไหม (เกล็ดความรู้) สะเก็ดเงินเกิดขึ้นกับใครได้บ้าง?

โรคสะเก็ดเงิน ติดต่อไหม (เกร็ดความรู้) สะเก็ดเงินขึ้นกับใครได้บ้าง?

สะเก็ดเงิน

บางคนเมื่อมีอาการผื่นแดงเกิดขึ้นตามบริเวณข้อศอก แขน ขา ศีรษะ มักคิดว่าเป็นแค่อาการแพ้ธรรมดา แต่ถ้าสังเกตอาการเพิ่มเติมถ้าพบว่ามีตุ่มสีแดงมีขอบชัด และบนผื่นจะมีขุยสีขาวขึ้นคล้ายๆกับสะเก็ดเงินปกคลุมอยู่รอบๆผื่น ซึ่งเรียกกันว่า “โรคสะเก็ดเงิน” ตามลักษณะของผื่นนั่นเอง

โรคสะเก็ดเงิน คือโรคติดต่อไหม

ส่วนสาเหตุของโรคสะเก็ดเงิน ส่วนมากจะเกิดขึ้นมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรมซึ่งอาจจะไม่แสดงอาการ จนกว่าจะเจอปัจจัยภายในและภายนอกเข้ามาเป็นตัวกระตุ้นให้อาการของโรคกำเริบขึ้นได้ ดังนั้นกับคำถามที่ว่าโรคสะเก็ดเงินติดต่อไหม คำตอบคือไม่สามารถติดต่อได้เพราะไม่ได้เกิดมาจากแบคทีเรีย หรือเชื้อรา ผู้ที่มีความใกล้ชิดกับผู้ป่วย หายห่วง หมดกังวล ได้เลยว่าจะติดโรคนี้

โรคสะเก็ดเงิน คือ

  • ปัจจัยภายใน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เช่นการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน, การเกิดโรคของอวัยวะภายใน,ภาวะผลกระทบทางจิตใจ, ความเครียด เป็นต้น
  • ปัจจัยภายนอก หมายถึง การระคายเคืองจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้ เช่น สบู่ ผงซักฟอก ครีมขัดผิว หรือแม้กระทั่งการรับประทานอาหารหรือยาบางชนิด มีผลการศึกษาจากสถาบันโรคผิวหนังสหรัฐอเมริกาพบว่าผู้หญิงที่ดื่มเบียร์ไม่ต่ำกว่าอาทิตย์ละ 5 ครั้ง มีอัตราความเสี่ยงที่จะเกิดโรคสะเก็ดเงินสูงถึง 2 เท่าของคนทั่วไป

สะเก็ดเงินมีชนิดไหนบ้าง : การแบ่งประเภทของโรคสะเก็ดเงินจะแยกได้จากลักษณะของผื่นที่ขึ้น คือ

สะเก็ดเงินชนิดผื่นหนา

  • ชนิดผื่นหนา (Plaque)

เป็นลักษณะที่พบเห็นได้มากที่สุด จะมีรูปแบบผื่นแดงขอบนูนหนาขึ้นมาชัดเจน บนผื่นจะปรากฎขุยสีขาวเงิน คล้าย ๆ กับงูสวัสดิ์ ซึ่งก็คือเซลล์ผิวหนังที่ตายหลุดลอกออกมาแล้วนั่นเอง โดยบริเวณที่เกิดผื่นจะมีอาการแห้ง คัน ร่วมอยู่ด้วย และหากโดนเสียดสีก็จะทำให้เกิดแผลได้ง่าย

สะเก็ดเงิน ชนิดผื่นขนาดเล็ก

  • ชนิดผื่นขนาดเล็ก (Guttate)

ลักษณะของผื่นจะมีขนาดเล็กกว่าผื่นชนิดแรก โดยจะมีขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตร รูปแบบจะเหมือนกับหยดน้ำสีแดงเล็กๆ มีขุยสีขาวขึ้นบนผื่น มักพบที่บริเวณลำตัว แขน ขา ผื่นชนิดนี้อาจเกิดขึ้นได้หากผิวหนังติดเชื้อ ส่วนใหญ่จะพบกับคนที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี

โรคสะเก็ดเงิน

  • ชนิดที่เกิดบริเวณซอกข้อพับ (Inverse)

โรคสะเก็ดเงินประเภทนี้จะพบในคนอ้วน เพราะคนอ้วนจะมีเหงื่อออกมาก จึงทำให้เกิดการระคายเคืองได้ง่าย  บริเวณข้อพับ รักแร้ เต้านม โดยลักษณะของผื่นจะไม่นูนแดง และไม่มีขุย แต่จะราบเรียบกับผิว ทำให้แห้ง อักเสบแดง

สะเก็ดเงิน ผื่นแดงลอกทั้งตัว

  • ชนิดผื่นแดงลอกทั้งตัว (Erythrodermic)

เป็นโรคสะเก็ดเงินที่จัดว่ารุนแรงมากที่สุด และพบได้น้อยที่สุดเช่นกัน ผู้ป่วยที่เป็นโรคสะเก็ดเงินชนิดนี้จะมีผื่นสะเก็ดที่หลุดลอกออกมาได้ง่าย ลักษณะผื่นจะเป็นขุย สีแดงกระจายไปทั่วตัว และบางครั้งจะมีอาการปวด บวม คันร่วมอยู่ด้วยซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากการขาดยาหรือเกิดปัจจัยอย่างอื่นเข้ามากระตุ้น

สะเก็ดเงิน ตุ่มหนอง

  • ชนิดตุ่มหนอง (Pustular)

ลักษณะของโรคจะเกิดตุ่มหนอง อักเสบแดง และกระจายเต็มบนผิวหนัง บางคนหากเกิดตุ่มหนองขึ้นมากๆอาจจะมีอาการอักเสบเป็นไข้ร่วมอยู่ด้วย

เล็บสะเก็ดเงิน เล็บ

  • ชนิดเล็บสะเก็ดเงิน (Psoriatic nails)

โรคสะเก็ดเงินไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่ผิวหนังเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดขึ้นที่เล็บได้เช่นกัน โดยลักษณะของเล็บจะเป็นหลุม, เล็บหลุดร่อน หรือเพิ่มหนาขึ้น

สะเก็ดเงิน แขน ขา มือ เท้า

  • ชนิดสะเก็ดเงินบริเวณมือ-เท้า (Palmoplantar)

มักเกิดขึ้นตามบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า โดยจะออกเป็นผื่นแดงมีขอบเขตชัดเจน และมีสะเก็ดขุยขาวขึ้นบนผื่น ซึ่งอาจลามมาที่บริเวณหลังมือ หลังเท้าได้

โรคสะเก็ดเงินติดต่อได้ไหม

โรคสะเก็ดเงินติดต่อได้ไหม

โรคสะเก็ดเงินติดต่อได้ไหม คำถามนี้อาจจะค้างคาใจใครหลายๆคน ว่าเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ไหม ถ้าเผลอไปโดนขุยสะเก็ดเงินเข้า ซึ่งทางการแพทย์ได้ยืนยันแล้วว่าโรคสะเก็ดเงินไม่ใช่โรคอันตรายร้ายแรง และที่สำคัญไม่ใช่โรคที่จะติดต่อกันได้ด้วยการสัมผัสตัว หรือสัมผัสน้ำลาย เป็นเพียงแค่โรคเรื้อรังเท่านั้น

แต่อาจส่งผลกระทบกับจิตใจของผู้ป่วยโดยตรงเสียมากกว่า ฉะนั้นการดูแลรักษาสุขภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญ วิธีรักษาโรคสะเก็ดเงินถึงจะรักษาหายแล้ว ก็ไม่ควรชะล่าใจเพราะโรคนี้มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นได้อีกครั้งซ้ำไปซ้ำมาตลอดเวลา

วิธีรักษา โรคสะเก็ดเงิน ที่ดีที่สุด

วิธีป้องกันไม่ให้โรคสะเก็ดเงินย้อนกลับมาเป็นอีกครั้ง

อย่างที่กล่าวไว้ว่าโรคสะเก็ดเงินแม้จะรักษาให้หายได้ แต่ก็มีโอกาสที่จะกลับขึ้นมาเป็นซ้ำได้อีก ฉะนั้นสิ่งที่ผู้ป่วยควรต้องรู้คือวิธีป้องกันหรือยับยั้งไม่ให้โรคสะเก็ดเงินลุกลามขึ้นมาอีก ต้องทำอย่างไรบ้างมาดูกันดีกว่าค่ะ

  1. พยายามหลีกเลี่ยง, ป้องกัน ปัจจัยที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้โรคกำเริบขึ้นมาอีก
  2. สวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดผิวหนังอย่างมิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังกระทบ กระแทก สัมผัสสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคือง ที่สำคัญป้องกันมือตัวเองไม่ให้แคะ แกะ เกา ให้ผื่นเห่อไปทั่ว
  3. สร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เบื้องต้นก็คือทานให้ครบห้าหมู่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  4. หลีกเลี่ยงหรือเลิกสิ่งที่เข้ามาทำร้ายสุขภาพ อย่างเช่น สูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  5. พยายามไม่เครียด หรือวิตกกังวล ทำจิตใจให้สงบอาจจะหางานอดิเรกทำเพื่อจะได้รู้สึกผ่อนคลาย เพราะความเครียดก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคสะเก็ดเงินได้เช่นกัน
  6. ถ้าอยู่ในช่วงของการรักษาผู้ป่วยจะต้องทานยา ร่วมทั้งปฎิบัติตามคำสั่งของแพทย์ผู้รักษาอย่างเคร่งครัด

อย่างไรก็ดี เราสามารถสรุปได้ว่า โรคสะเก็ดเงินไม่ใช่โรคติดต่อ และผู้ที่ป่วยเป็นโรคสะเก็ดเงินจะต้องหมั่นดูแลตัวเองให้ดี นอกจากจะดูแลเรื่องสุขภาพแล้วอาจจะเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวด้วยการหาครีมโลชั่นมาทาที่ผิวเป็นประจำทุกวัน เพื่อช่วยไม่ให้ผิวแห้งร่วมกับการรักษากับแพทย์ผิวหนังค่ะ