วิธีทำให้ลูกเลิกดูดนมจากขวด คู่มือคุณแม่มือใหม่ ทำไมต้องเลิก ?
วิธีทำให้ลูกเลิกดูดนมจากขวด คู่มือคุณแม่มือใหม่ ทำไมต้องเลิก ? ขวดนม ในตอนที่เราเป็นเด็กแน่นอนว่าทุกคนต้องเคยดูดนม จากขวดนม เพราะว่าทำให้เราทานนมได้ง่ายมากขึ้น เด็กหลายคนดูดนมจากขวดจนติดเป็นนิสัย ทำให้เลิกยาก
แต่ว่าทำไมเราต้องทำให้เด็กเลิกติดขวดนม จะเลิกได้อย่างไร มีอันตรายหรือไม่ ในวันนี้เรามีคำตอบ ใน คู่มือคุณแม่มือใหม่ ใจเกิน 100 — วิธีให้ลูกเลิกดูดนมขวด
1.เปลี่ยนภาชนะ
วิธีที่ง่ายที่ ทำให้เด็กเลิกติดขวดนมได้ทัน คือ เปลี่ยนภาชนะ 555 จะตอบง่ายไปไหม แต่เราทำกันแบบนี้จริงครับ เริ่มจากในมื้อสุดท้ายให้เปลี่ยนจากขวดนมมาเป็นแก้วพลาสติกเบาๆ แบบมีหู จากนั้นก็ค่อยๆ เปลี่ยนในมื้ออีก จนเด็กเลิกขวดนมได้ในที่สุด [ ท่าอุ้มทารกมีกี่ท่า ]
2.เปลี่ยนน้ำในขวดนม
ในลองเปลี่ยนนมในขวดนมเป็นน้ำอย่างอื่นบ้าง เช่นน้ำเปล่า น้ำผลไม้ แต่บางครั้งเด็กอาจจะงอแง และไม่ทาน เพราะฉะนั้นเราควรอยู่เป็นเพื่อนจนกว่าเด็กจะหลับสนิท ถ้าผ่านไปได้สัก 3 – 4 ทุกอย่างจะเริ่มเข้าที่ เด็กจะเริ่มชินไปเอง
อาการติดขวดนมของเด็กมีผลอย่างไร : การดูดขวดนมบนที่นอนจนหลับไปอาจทำให้ไม่สบาย เพราะศีรษะอยู่ต่ำกว่าระดับของกระเพาะอาหาร อาจทำให้เกิดอาการสำลัก และท่อยูสเตเชี่ยนเกิดการอุดตัน ในต่างประเทศนั้นเด็กจะเริ่มหย่าขาดจากขวดนมได้ตั้งแต่ก่อนจะครบ 1 ขวบ ส่วนในประเทศไทย หากว่า 1 ขวบ แล้วสามารถเลิกได้ก็ถือว่าเก่งมาแล้ว เพราะคุณแม่ชาวไทยไม่ค่อยใส่ใจ และไม่รู้ถึงปัญหานี้เท่าที่ควร และการเลิกขดนมยังช่วยให้ฟันไม่พุอีกด้วย
เมื่อ 1 ขวบ ควรเลิกขวดนมเพราะเด็กสามารถเริ่มทานอาหารอื่นๆ ได้ ควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ถ้ายังติดขวดนม ก็จะทานแค่นมอย่างเดียวทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบ นมต้องกลายมาเป็นเพียงอาหารเสริมเท่านั้น เพราะร่างกานต้องการแคลเซียมจากอาหารอย่างอื่น ในช่วง 1 ขวบเด็กจะยังสามารถเลิกได้ง่ายกว่าในช่วง 2 ขวบ เพราะว่า 1 ขวบจะยังเชื่อฟังพ่อแม่ดี แต่ถ้า 2 ขวบไปแล้วเด็กจะเริ่มเป็นตัวของตัวเองสูงมาก และจะเลิกได้ยากมาก [ วิธีให้นมลูก ]
ผลเสียของการดูดนมจากขวด
1. ทำให้เป็นโรคอ้วน
ในนมนั้นแม้ว่าจะมีประโยชนมากมีแคลเซียม ที่ร่างกายต้องการ แต่ว่าในนมนั้นก็ยังมีคาร์โบไฮเดรท และไขมัน ถ้ากินมากจนเกินไป จนไม่สามารถทานอาหารหลักอย่างอื่นได้ ร่างกายจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ร่างกายไม่เจริญเติบโตตามวัย ทำให้เกิดปัญหาท้องผูก ฟันพุ และอ้วน
2. ไม่ยอมกินข้าว
เด็กหลายคนไม่ได้ต้องการกินนม แต่อยากดูดขวดนมเพราะว่าติดเป็นนิสัยเท่านั้น แต่เมื่อดูดไปเรื่อยร่างกายก็จะอิ่ม ยิ่งดูดบ่อยๆ ก็จะยิ่งทำให้อิ่มตลอดเวลาจนไม่ได้รับสารอาหารอื่นๆ เลย สำหรับเด็ก 1 ขวบ ควรได้รับนมเพียงแค่ 2-3 กล่อง หรือ ไม่เกิน 24 ออนซ์ เท่านั้น
3. ขาดวิตามินและแร่ธาตุ
เนื่องจากอิ่มจนเกินไป ทำให้ไม่สามารถทานอาหารหลักได้นั่นเอง
4. ควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้
หงุดหงิดง่าย และเก็บอารมณ์ไปกับการดูดขวดนม เมื่อเด็กหงุดหงิด หรือโกรธพวกเขาก็จะดูดขวดนมเพราะว่าทำให้รู้สึกดีขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาต่อพัฒนาการทางอารมณ์ เด็กควรได้ระบายออกมาหากว่าหงุดหงิด หรือควรสื่อสารออกมาเป็นคำพูด [ ทารกไม่ถ่าย ]
5. ขาดความมั่นใจ
ในเด็กที่อายุ 2 – 3 ขวบแต่ว่ายังติดขวดนม เด็กเหล่านี้จะฟันพุ ทำให้อาจโดนล้อจากเพื่อนๆ และเมื่ออายุขนาดนี้การติดขวดนมจะทำให้เสียบุคลิก
หัดอย่างไรให้ลูกดื่มนมจากแก้ว
บางครั้งมันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะเปลี่ยนนิสัยของเด็กๆ ให้หันมาดื่มนมจากแก้วแทน แต่ไม่ว่าอย่างไรเมื่อคุณแม่ได้มองเห็นปัญหาของการติดขวดนมแล้ว ทางออกที่ดีที่สุดคือพยายามเปลี่ยนนิสัยของลูกให้มาดื่มนมจากแก้วให้ได้ และในวันนี้เรามีวิธีดีๆ มาบอกกัน
ในเด็กส่วนมากการดูดนมจากขวดจะติดเป็นนิสัย ทำให้เพลิดเพลิน มีความสุข และรู้สึกปลอดภัย เพราะฉะนั้นหากคุณแม่เอาขวดนมของเขาไปเด็กจะรู้สึกแปลกต่างไปจากเดิม คุณแม่ควรต้องใช้เวลาอยู่กับลูกๆ นานขึ้น เฝ้าอยู่ใกล้ๆ จนเขาหลับไป
เปลี่ยนมาใช้แก้วแบบ sippy cups เพราะว่ามีลักษณะคล้ายกับการดูดจากขวดนม ลูกจะเริ่มสนใจเพราะว่าเหมือนได้ของใหม่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ให้เริ่มเปลี่ยนจากแค่วันละมื้อไปก่อน และค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเลิกได้ในที่สุด
ที่มาบางส่วน